การออกแบบหรือจัดทำกล่องบรรจุภัณฑ์
นอกจากจะต้องมีการออกแบบที่ใส่ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ลงไปแล้ว จะต้องมีการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ ว่าจะต้องเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ที่จัดทำไปเพื่อจำหน่ายสินค้าอะไร เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็จะมีกฎหมายที่มีความแตกต่างกันออกไป
การออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์จะต้องออกแบบเพื่อที่จะบ่งบอกความเป็นตัวตนของสินค้าและแบรนด์สินค้าให้ได้มากที่สุด
ออกแบบจะต้องมีการใส่รายละเอียด ลงไปตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้อีกด้วย กฎหมายบรรจุภัณฑ์ที่ควรรู้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่ตั้งใจ
กฎหมายบรรจุภัณฑ์และสินค้า
1. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466
กฎหมายที่จัดทำขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้สินค้าตามที่ปริมาณกำหนดเอาไว้ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการระบุจำนวนหรือปริมาณเอาไว้ในกล่องกระดาษหรือระบุไว้ในฉลากบรรจุภัณฑ์ตามที่ได้กำหนดเอาไว้
2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
กฎหมายฉบับนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คือ
- การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร
ผู้ผลิตหรือผู้ที่นำเข้าอาหารที่มีการควบคุมโดยเฉพาะจะต้องนำอาหารที่ต้องการจะจำหน่ายมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อนได้รับใบสำคัญในการขึ้นทะเบียนอาหารแล้ว ถ้าเราไม่มาขอ จะไม่สามารถที่จะนำเข้ามาเพื่อการจำหน่ายได้ แต่ถ้าหากเราฝ่าฝืนหรือไม่ทำตามอาจจะต้องมีโทษจำคุก 2 ปีด้วยกันหรือปรับเงินไม่เกิน 20000 บาท
- การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร
จะต้องมีการควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพ และที่กำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารและมีการขออนุญาติ จะต้องได้รับอนุญาตก่อนแล้วถึงจะสามารถที่จะผลิตและนำฉลากอาหารเข้ามาแสดงไว้ที่กล่องได้
องค์กรที่รับผิดชอบกฎหมายทั้งสองฉบับนี้มีดังนี้
- สำนักงานกลางชั่งตวง กรมทะเบียนการค้า ของกระทรวงพาณิชย์
เข้ามาตรวจสอบด้วยว่าสินค้าแต่ละชนิดที่ได้นำมาจำหน่ายมีปริมาณตรงกับที่เขียนระบุไว้หรือเปล่า
- คณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี และ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งก็จะเข้ามาควบคุมเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
ไม่ว่าใครที่จะคิดสร้างแบรนด์สินค้าด้วยตนเองควรที่จะต้องมีการศึกษาหาความรู้เอาไว้ด้วย เพราะมันจะเป็นประโยชน์ที่สำคัญในการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ยา อาหาร หรือเครื่องดื่ม สิ่งของต่างๆ ก็จะต้องทำให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ผู้ประกอบการนั้นจะได้ไม่เอาเปรียบผู้บริโภคได้